ความรู้พื้นฐานตัดซอยผม
ตำนานการซอยผม
ประวัติศาสตร์ของการซอยผมตามแบบมาตรฐานมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 ในนครนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา ช่างผมได้ค้นคว้านำหลักวิชาเรขาคณิต มาประกอบการออกแบบทรงผมแบบทรงต่างๆ แต่ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร บุคคลส่วนมากยังคงนิยมทรงผมแบบยีหัวโตเหมือนเดิม
ถึงช่วงปลายปี ค.ศ.1960 เด็กผู้หญิงและหญิงสาวได้รับอนุญาตให้ไว้ผมเหยียดตรงและยาว เด็กผู้หญิงที่ผมไม่ได้เหยียดตามธรรมชาติต้องไปยืดรอยหยิกออกจากผมด้วยเตารีดผ้า
ความนิยมผมยาวเหยียดตรงยังคงดำเนินอยู่ต่อไป โดยนักออกแบบแฟชั่นฝรั่งเศส กูแรช และการ์แด็ง และนักออกแบบแฟชั่นชาวอังกฤษ แมรี ควอนต์ พากันตัดผมนางแบบจนเกือบเป็นรูปทรงเรขาคณิตในคอลเลคชั่น
กึ่งทศวรรษ ต่อมา ปี ค.ศ.1968 วิดัล ซาสซูน ผู้นำหลักการออกแบบผมมาดัดแปลงประกอบการซอยที่เรียกว่า ตัดแบบเรขาคณิตทำให้ชื่อเสียงดังไปทั่วโลก ช่างเสริมสวยทั้งในประเทศและต่างประเทศพากันไปเป็นลูกศิษย์ เพื่อศึกษาหลักการออกแบบทรงผมเป็นจำนวนมาก
นับว่าเป็นหลักมาตรฐานของการออกแบบทรงผมที่ทุกคนยอมรับ เพราะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบปฏิบัติในการประกอบอาชีพเทคนิคการซอยแบบผม แต่ละสมัยไม่แตกต่างกันมาก
เพื่อต้องการให้เป็นพื้นฐานของแนวทางออกแบบผมได้มาตรฐาน ปฏิบัติได้แม่นยำผมเข้ารูปทรงดี การตัดซอยผมควรจะต้องมีศิลปะคือ ให้มองดูแล้วมีการเคลื่อนไหว รูปหน้าและความแตกต่างของโครงสร้างเส้นผมเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของแต่ละประเทศ คนเอเซียมีผมดำ คนยุโรปมีผมสีทอง ส่วนคนผิวดำหรือที่เรียกว่านิโกรมีเส้นผมหยิก ผมมี 3 ชั้น คือ ผมชั้นนอก ผมชั้นใน และผมชั้นกลาง ศีรษะของคนจะมีขวัญหลายรูปแบบแตกต่างกัน ทำให้การซอยผมผิดเพี้ยนไป ดังนั้นช่างผมจะต้องศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้
การซอยผมแบบมาตรฐาน
ที่นิยมคือ การซอยซิกแซ็ก เป็นเทคนิคที่ทำให้ผมดูนุ่มนวลเป็นธรรมชาติไม่ต้องใช้มีดโกนซอยอีกครั้งหนึ่ง และนี่คือจุดได้เปรียบซึ่งการซอยผมแบบซิกแซ็ก ทำให้เกิดผลดี คือ ผมดูเบาบาง เส้นผมจะพลิ้วเป็นธรรมชาติ การซอยผมซิกแซ็ก จะทำให้ผมดูหนาหรือบางอย่างไรก็ได้ หากซิกแซ็กลึกผมหนาก็จะทำให้ดูบาง หากซิกแซ็กตื้นผมบางก็จะทำให้ดูหนา การซิกแซ็ก ที่เส้นกรอบผมทำให้ใบหน้าดูไม่แข็ง และดูเป็นธรรมชาติขึ้น โดยจะสามารถทำให้ผมบางโดยดูแล้วความยาวไม่สั้นลง และทำให้ได้ผมที่พลิ้วสลวย หวีและจัดรูปทรงได้ง่าย ตลอดจนเทคนิคการซอยผมก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เพราะต้องการผมประเภทนุ่มสลวยเป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับการซอยผมด้วยใบมีด ซึ่งเป็นวิธีการซอยแบบเก่ากว่ากรรไกร และยังมีเทคนิคการซอยอีกวิธีหนึ่ง ที่จะได้ผมที่นุ่มสลวยเป็นธรรมชาติ โดยมากมักได้ผมที่บางและเบา
การซอยด้วยใบมีด
อาศัยหลักเช่นเดียวกันกับกรรไกร แต่วิธีการซอยและผลที่ออกมาจะไม่เหมือนกันซึ่งการซอยผมด้วยมีดโกนมี 3 วิธีดังนี้
1.การถากและตัด โดยจะถากผมสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับความต้องการผมหนาหรือบาง เมื่อถากมาถึงปลายผมตามต้องการ ให้ออกแรงกดผมก็จะขาด
2.การตัดและดึงเข้าหาตัว โดยกดปลายมีดลงบนเส้นผม ออกแรงดึงเข้าหาตัวเล็กน้อยผมจะขาด ผมที่ได้จะมีลักษณะค่อนข้างหนาเพราะไม่ได้ถากผม
3.การตัดและโยกผม โดยวิธีกดใบมีดไว้และโยกผมหรือเหวี่ยงผมไป ให้เคลื่อนมีดโกนตามด้วย ผมจะขาด และถากจากแรงเหวี่ยงเล็กน้อย ผมจะไม่หนาเกินไป ในขณะเดียวกันก็ไม่บางเกินไป
ที่ผ่านมามีคนเคยนิยมใช้มีดโกนในการซอยผม เพราะทรงผมโดยมากเป็น ทรงผมที่นุ่มสลวยเป็นธรรมชาติ หลังจากนั้นผมกลับกลายเป็นตรงที่มีน้ำหนัก เส้นผมคมชัด โดยเฉพาะที่เส้นกรอบ เมื่อความนิยมทรงผมเปลี่ยนไปกรรไกรจึงเข้ามาแทนที่มีดโกน นับจากนั้นมาเป็นเวลานานทีเดียว ที่กรรไกรได้ยึดครองอยู่ในวงการซอยผมทั่วทุกมุมโลกให้การยอมรับอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของทรงผมเป็นตัวกำหนดนั้นเอง
การซอยผมดว้ยกรรไกร
การตัดซอยแบบตรงๆ
1.การซอยตรงๆแนวนอน
2.การซอยตรงๆแนวตั้ง
3.การซอยตรงๆแนวทะแยง
4.การซอยแนวโค้ง
5.การซอยแบบผสมผสาน
การตัดซอยแบบซิกแซ็ก
1.การซอยซิกแซ็กแนวนอน
2.การซอยซิกแซ็กแนวตั้ง
3.การซอยซิกแซ็กแนวทะแยง
4.การซอยซิกแซ็กแนวโค้ง
5.การซอยซิกแซ็กแบบผสมผสาน
การตัดซอยแบบสไลด์
1.การซอยสไลด์แนวนอน
2.การซอยสไลด์แนวตั้ง
3.การซอยสไลด์แนวทะแยง
4.การซอยสไลด์แนวโค้ง
5.การซอยสไลด์ผสมผสาน
การตัดซอยผมด้วยปัตตาเลี่ยน
1.การตัดแนวนอน
2.การตัดแนวตั้ง
3.การตัดแนวทะแยง
4.การตัดแนวโค้ง
5.การตัดผสมผสาน
6.การแกะลายผม
เรียนรู้โครงสร้างเส้นผม ก่อนการออกแบบ-ตัดซอย
นอกจากที่เราจะต้องรู้เรื่องโครงสร้างเส้นผมแล้ว จะต้องรู้ลึกไปถึงส่วนประกอบของเส้นผมด้วยว่า ในผมหนึ่งเส้นจะแบ่งชั้นผมออกเป็น 3 ชั้นคือ ผมชั้นนอก ผมชั้นใน และผมชั้นกลาง(แกนผม) ชั้นของเส้นผมแต่ละชั้นจะทำหน้าที่ต่างกัน ซึ่งแต่ละชั้นเพื่อประโยชน์ของการทำเคมีเป็นสำคัญ ไม่เพียงแต่ชั้นของเส้นผมเท่านั้นที่ต้องทำความเข้าใจ
ศีรษะของคนก็ยังมีขวัญหลายรูปแบบที่ต่างกันออกไป ซึ่งจะทำให้มาตรฐานของการตัดซอยผมผิดเพี้ยนต่างกันออกไป ต้องทำความเข้าใจเช่นกัน สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการตัดซอยผมนั้น ก็เพื่อจะกำจัดความหนาแน่นของเส้นผม การซอยผมถ้าผมแห้ง ควรจะใช้กรรไกรฟันไล่เพื่อลดความหนา ส่วนการซอยผมเปียกควรใช้กรรไกรธรรมดาหรือมีดโกนในตัดซอย ส่วนผมสั้นและปานกลาง ควรใช้ปัตตาเลี่ยนในการตัดซอย[สวยและรวดเร็ว]
ซึ่งลักษณะของเส้นผม จะเป็นตัวกำหนดจุดตั้งต้นว่า ควรจะซอยผมใกล้กับหนังศีรษะได้มากน้องแค่ไหน เช่นกรณีเส้นผมที่มีความละเอียด สามารถซอยผมให้ใกล้กับหนังศีรษะได้มากกว่าเส้นผมหยาบ เหตุผมก็คือ ถ้าซอยผมหยาบใกล้กับหนังศีรษะมากเกินไปปลายผมสั้นๆที่ซอยไว้ จะโผล่แทงขึ้นด้านบน ส่วนผมที่ละเอียดนั้น ผมจะอ่อนและยืดหยุ่นได้ง่าย ถึงจะซอยผมให้สั้นผมก็ยังคงเรียบติดกับศีรษะ ไม่กระดกขึ้นมา การซอยผมนั้นจะซอยผมออกมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับทรงผมที่ตกแต่งให้เป็นรูปทรง
เส้นผมละเอียด ตั้งต้นซอยห่างจากหนังศีรษะประมาณ 1/2 นิ้ว ถึง 1 นิ้ว -เส้นผมธรรมดา ตั้งต้นซอยห่างจากหนังศีรษะ 1 นิ้ว ถึง 1 ½ นิ้ว -เส้นผมหนา ตั้งต้นซอยผมห่างจากหนังศีรษะ 1 ½ นิ้ว ถึง 2 นิ้ว อีกหลักการหนึ่งที่มีความสำคัญในการซอยไม่แพ้หลักการใด คือ การยกมือขึ้นซอยตามระดับองศา จะประกอบด้วย 90 องศา 180 องศา 270 องศา และ 360 องศา ซึ่งหลักการยกมือในแต่ละระดับนั้นจะให้ผลลัพธ์ของการตกแต่งของเส้นผมที่แตกต่างกัน
เรียนรู้โครงสร้างศีรษะก่อนการวางกรอบทรง[Referencepoint ]
หรือจุดอ้างอิงที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงผมบนศีรษะ มีตั้งแต่ส่วนของหู จอนไลน์ ท้ายทอย (จุดทุย) หรือ apex (จุดด้านบนสุดของกะโหลกศีรษะ) ซึ่งหากทำความเข้าใจในเรื่องจุดต่างๆ ในโครงสร้างทั้งหมดของศีรษะ ก็จะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบทรงผมได้อย่างที่ต้องการ
สิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้โครงสร้างของกะโหลกศีรษะ -เป็นเครื่องการันตีว่าจะทำให้การออกแบบทรงผมได้ชัดเจนแน่นอน ไม่ผิดพลาด -จะช่วยให้ตัดผมออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ -จะช่วยให้สามารถแก้ไขการออกแบบทรงผม เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับรูปกะโหลกศีรษะ โครงสร้างศีรษะที่อาจไม่เหมือนกันของลูกค้าในแต่ละรูปแบบ ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีตัดไปตามสถานการณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
****************************
ประวัติศาสตร์ของการซอยผมตามแบบมาตรฐานมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 ในนครนิวยอร์กสหรัฐอเมริกา ช่างผมได้ค้นคว้านำหลักวิชาเรขาคณิต มาประกอบการออกแบบทรงผมแบบทรงต่างๆ แต่ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร บุคคลส่วนมากยังคงนิยมทรงผมแบบยีหัวโตเหมือนเดิม
ถึงช่วงปลายปี ค.ศ.1960 เด็กผู้หญิงและหญิงสาวได้รับอนุญาตให้ไว้ผมเหยียดตรงและยาว เด็กผู้หญิงที่ผมไม่ได้เหยียดตามธรรมชาติต้องไปยืดรอยหยิกออกจากผมด้วยเตารีดผ้า
ความนิยมผมยาวเหยียดตรงยังคงดำเนินอยู่ต่อไป โดยนักออกแบบแฟชั่นฝรั่งเศส กูแรช และการ์แด็ง และนักออกแบบแฟชั่นชาวอังกฤษ แมรี ควอนต์ พากันตัดผมนางแบบจนเกือบเป็นรูปทรงเรขาคณิตในคอลเลคชั่น
กึ่งทศวรรษ ต่อมา ปี ค.ศ.1968 วิดัล ซาสซูน ผู้นำหลักการออกแบบผมมาดัดแปลงประกอบการซอยที่เรียกว่า ตัดแบบเรขาคณิตทำให้ชื่อเสียงดังไปทั่วโลก ช่างเสริมสวยทั้งในประเทศและต่างประเทศพากันไปเป็นลูกศิษย์ เพื่อศึกษาหลักการออกแบบทรงผมเป็นจำนวนมาก
นับว่าเป็นหลักมาตรฐานของการออกแบบทรงผมที่ทุกคนยอมรับ เพราะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบปฏิบัติในการประกอบอาชีพเทคนิคการซอยแบบผม แต่ละสมัยไม่แตกต่างกันมาก
เพื่อต้องการให้เป็นพื้นฐานของแนวทางออกแบบผมได้มาตรฐาน ปฏิบัติได้แม่นยำผมเข้ารูปทรงดี การตัดซอยผมควรจะต้องมีศิลปะคือ ให้มองดูแล้วมีการเคลื่อนไหว รูปหน้าและความแตกต่างของโครงสร้างเส้นผมเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของแต่ละประเทศ คนเอเซียมีผมดำ คนยุโรปมีผมสีทอง ส่วนคนผิวดำหรือที่เรียกว่านิโกรมีเส้นผมหยิก ผมมี 3 ชั้น คือ ผมชั้นนอก ผมชั้นใน และผมชั้นกลาง ศีรษะของคนจะมีขวัญหลายรูปแบบแตกต่างกัน ทำให้การซอยผมผิดเพี้ยนไป ดังนั้นช่างผมจะต้องศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้
การซอยผมแบบมาตรฐาน
ที่นิยมคือ การซอยซิกแซ็ก เป็นเทคนิคที่ทำให้ผมดูนุ่มนวลเป็นธรรมชาติไม่ต้องใช้มีดโกนซอยอีกครั้งหนึ่ง และนี่คือจุดได้เปรียบซึ่งการซอยผมแบบซิกแซ็ก ทำให้เกิดผลดี คือ ผมดูเบาบาง เส้นผมจะพลิ้วเป็นธรรมชาติ การซอยผมซิกแซ็ก จะทำให้ผมดูหนาหรือบางอย่างไรก็ได้ หากซิกแซ็กลึกผมหนาก็จะทำให้ดูบาง หากซิกแซ็กตื้นผมบางก็จะทำให้ดูหนา การซิกแซ็ก ที่เส้นกรอบผมทำให้ใบหน้าดูไม่แข็ง และดูเป็นธรรมชาติขึ้น โดยจะสามารถทำให้ผมบางโดยดูแล้วความยาวไม่สั้นลง และทำให้ได้ผมที่พลิ้วสลวย หวีและจัดรูปทรงได้ง่าย ตลอดจนเทคนิคการซอยผมก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เพราะต้องการผมประเภทนุ่มสลวยเป็นธรรมชาติ เช่นเดียวกับการซอยผมด้วยใบมีด ซึ่งเป็นวิธีการซอยแบบเก่ากว่ากรรไกร และยังมีเทคนิคการซอยอีกวิธีหนึ่ง ที่จะได้ผมที่นุ่มสลวยเป็นธรรมชาติ โดยมากมักได้ผมที่บางและเบา
อาศัยหลักเช่นเดียวกันกับกรรไกร แต่วิธีการซอยและผลที่ออกมาจะไม่เหมือนกันซึ่งการซอยผมด้วยมีดโกนมี 3 วิธีดังนี้
1.การถากและตัด โดยจะถากผมสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับความต้องการผมหนาหรือบาง เมื่อถากมาถึงปลายผมตามต้องการ ให้ออกแรงกดผมก็จะขาด
2.การตัดและดึงเข้าหาตัว โดยกดปลายมีดลงบนเส้นผม ออกแรงดึงเข้าหาตัวเล็กน้อยผมจะขาด ผมที่ได้จะมีลักษณะค่อนข้างหนาเพราะไม่ได้ถากผม
3.การตัดและโยกผม โดยวิธีกดใบมีดไว้และโยกผมหรือเหวี่ยงผมไป ให้เคลื่อนมีดโกนตามด้วย ผมจะขาด และถากจากแรงเหวี่ยงเล็กน้อย ผมจะไม่หนาเกินไป ในขณะเดียวกันก็ไม่บางเกินไป
ที่ผ่านมามีคนเคยนิยมใช้มีดโกนในการซอยผม เพราะทรงผมโดยมากเป็น ทรงผมที่นุ่มสลวยเป็นธรรมชาติ หลังจากนั้นผมกลับกลายเป็นตรงที่มีน้ำหนัก เส้นผมคมชัด โดยเฉพาะที่เส้นกรอบ เมื่อความนิยมทรงผมเปลี่ยนไปกรรไกรจึงเข้ามาแทนที่มีดโกน นับจากนั้นมาเป็นเวลานานทีเดียว ที่กรรไกรได้ยึดครองอยู่ในวงการซอยผมทั่วทุกมุมโลกให้การยอมรับอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของทรงผมเป็นตัวกำหนดนั้นเอง
การซอยผมดว้ยกรรไกร
การตัดซอยแบบตรงๆ
1.การซอยตรงๆแนวนอน
2.การซอยตรงๆแนวตั้ง
3.การซอยตรงๆแนวทะแยง
4.การซอยแนวโค้ง
5.การซอยแบบผสมผสาน
การตัดซอยแบบซิกแซ็ก
1.การซอยซิกแซ็กแนวนอน
2.การซอยซิกแซ็กแนวตั้ง
3.การซอยซิกแซ็กแนวทะแยง
4.การซอยซิกแซ็กแนวโค้ง
5.การซอยซิกแซ็กแบบผสมผสาน
การตัดซอยแบบสไลด์
1.การซอยสไลด์แนวนอน
2.การซอยสไลด์แนวตั้ง
3.การซอยสไลด์แนวทะแยง
4.การซอยสไลด์แนวโค้ง
5.การซอยสไลด์ผสมผสาน
การตัดซอยผมด้วยปัตตาเลี่ยน
1.การตัดแนวนอน
2.การตัดแนวตั้ง
3.การตัดแนวทะแยง
4.การตัดแนวโค้ง
5.การตัดผสมผสาน
6.การแกะลายผม
เรียนรู้โครงสร้างเส้นผม ก่อนการออกแบบ-ตัดซอย
นอกจากที่เราจะต้องรู้เรื่องโครงสร้างเส้นผมแล้ว จะต้องรู้ลึกไปถึงส่วนประกอบของเส้นผมด้วยว่า ในผมหนึ่งเส้นจะแบ่งชั้นผมออกเป็น 3 ชั้นคือ ผมชั้นนอก ผมชั้นใน และผมชั้นกลาง(แกนผม) ชั้นของเส้นผมแต่ละชั้นจะทำหน้าที่ต่างกัน ซึ่งแต่ละชั้นเพื่อประโยชน์ของการทำเคมีเป็นสำคัญ ไม่เพียงแต่ชั้นของเส้นผมเท่านั้นที่ต้องทำความเข้าใจ
ศีรษะของคนก็ยังมีขวัญหลายรูปแบบที่ต่างกันออกไป ซึ่งจะทำให้มาตรฐานของการตัดซอยผมผิดเพี้ยนต่างกันออกไป ต้องทำความเข้าใจเช่นกัน สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการตัดซอยผมนั้น ก็เพื่อจะกำจัดความหนาแน่นของเส้นผม การซอยผมถ้าผมแห้ง ควรจะใช้กรรไกรฟันไล่เพื่อลดความหนา ส่วนการซอยผมเปียกควรใช้กรรไกรธรรมดาหรือมีดโกนในตัดซอย ส่วนผมสั้นและปานกลาง ควรใช้ปัตตาเลี่ยนในการตัดซอย[สวยและรวดเร็ว]
ซึ่งลักษณะของเส้นผม จะเป็นตัวกำหนดจุดตั้งต้นว่า ควรจะซอยผมใกล้กับหนังศีรษะได้มากน้องแค่ไหน เช่นกรณีเส้นผมที่มีความละเอียด สามารถซอยผมให้ใกล้กับหนังศีรษะได้มากกว่าเส้นผมหยาบ เหตุผมก็คือ ถ้าซอยผมหยาบใกล้กับหนังศีรษะมากเกินไปปลายผมสั้นๆที่ซอยไว้ จะโผล่แทงขึ้นด้านบน ส่วนผมที่ละเอียดนั้น ผมจะอ่อนและยืดหยุ่นได้ง่าย ถึงจะซอยผมให้สั้นผมก็ยังคงเรียบติดกับศีรษะ ไม่กระดกขึ้นมา การซอยผมนั้นจะซอยผมออกมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับทรงผมที่ตกแต่งให้เป็นรูปทรง
เส้นผมละเอียด ตั้งต้นซอยห่างจากหนังศีรษะประมาณ 1/2 นิ้ว ถึง 1 นิ้ว -เส้นผมธรรมดา ตั้งต้นซอยห่างจากหนังศีรษะ 1 นิ้ว ถึง 1 ½ นิ้ว -เส้นผมหนา ตั้งต้นซอยผมห่างจากหนังศีรษะ 1 ½ นิ้ว ถึง 2 นิ้ว อีกหลักการหนึ่งที่มีความสำคัญในการซอยไม่แพ้หลักการใด คือ การยกมือขึ้นซอยตามระดับองศา จะประกอบด้วย 90 องศา 180 องศา 270 องศา และ 360 องศา ซึ่งหลักการยกมือในแต่ละระดับนั้นจะให้ผลลัพธ์ของการตกแต่งของเส้นผมที่แตกต่างกัน
เรียนรู้โครงสร้างศีรษะก่อนการวางกรอบทรง[Referencepoint ]
หรือจุดอ้างอิงที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงผมบนศีรษะ มีตั้งแต่ส่วนของหู จอนไลน์ ท้ายทอย (จุดทุย) หรือ apex (จุดด้านบนสุดของกะโหลกศีรษะ) ซึ่งหากทำความเข้าใจในเรื่องจุดต่างๆ ในโครงสร้างทั้งหมดของศีรษะ ก็จะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบทรงผมได้อย่างที่ต้องการ
สิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้โครงสร้างของกะโหลกศีรษะ -เป็นเครื่องการันตีว่าจะทำให้การออกแบบทรงผมได้ชัดเจนแน่นอน ไม่ผิดพลาด -จะช่วยให้ตัดผมออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ -จะช่วยให้สามารถแก้ไขการออกแบบทรงผม เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับรูปกะโหลกศีรษะ โครงสร้างศีรษะที่อาจไม่เหมือนกันของลูกค้าในแต่ละรูปแบบ ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีตัดไปตามสถานการณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
****************************
ความคิดเห็น